วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Containerization

Containerization
Bulk Cargo คือ สินค้าทั่วไปที่ไม่สามารถจัดก็บเป็นหีบห่อได้ ส ซึ่งประกอบด้วย สินค้าแห้ง (Dry Bulk) และสินค้าเหลว (Liquid Bulk)  สินค้าหีบห่อ หรือสินค้าเทกองหรือรวมกอง
Claused bill  การเรียกเก็บเงิน  ใบตราส่งชนิดที่มีเงื่อนไข ซึ่งทางบริษัทเรือจะออกให้ตามคำบันทึกของกัปตันเรือ
Charter   นาม กฎบัตร สัญญาเช่า ธรรมนูญ กฎหมาย ใบอนุญาตกรรมสิทธิ
Broken Stowage พื้นที่ๆสูญเสียไปจากการจัดเรียง o Lashing –การที่นำเชือกมายึด Cargo ไว้เพื่อไม่ให้สินค้าหล่น เป็นการ Secure สินค้า.
ship broker  ผู้แทนของบริษัทเดินเรือ; นายหน้าซื้อขายเรือ; ผู้ทำการประกันภัยทางทะเล
back freight  การส่งคืนสินค้ากลับต้นทาง
Ship’s master  ต้นแบบของเรือ
Partial shipment   การจัดส่งสินค้าบางส่วน
Cargo carrier    ผู้ให้บริการขนส่งสินค้า
Dangerous goods  สินค้าอันตรา  วัตถุที่มีคุณสมบัติทางเคมี หรือกายภาพโดยตัวของมันเอง หรือเมื่อสำผัสกับสารอื่นทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ สินทรัพย์

Demurrage   การจอดเรือเกินกำหนด เก็บค่าจอดเกินเวลา
 Less than container load(LCL)
      ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งและ/หรือผู้รับหลายรายในตู้สินค้าเดียวกันซึ่งแต่ละรายจะมีสินค้าอยู่มากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่สินค้าทั้งหมดจะถูกนำไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน ความรับผิดชอบในการ บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและ/ หรือนำสินค้าออกจากตู้สินค้าในลักษณะนี้จะอยู่กับผู้รับการขนส่งซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นบริษัทเรือ บางครั้งในวงการเรือเรียกตู้สินค้าชนิดนี้ว่าเป็นตู้ CFS เพราะต้องมีการนำสินค้ามาผ่านโกดังจัดแยกชนิดสินค้าก่อนที่จะทำการบรรจุ ใส่ตู้สินค้าหรือ ส่งไปยังจุดหมายปลายทาง
FCL,Full Container Load 
         ตู้สินค้าที่บรรจุสินค้าที่มีผู้ส่งและ/หรือผู้รับเป็นเจ้าของรายเดียว อยู่ในตู้สินค้าเดียวกัน ส่วนมากความรับผิดชอบในการบรรจุสินค้าในตู้สินค้า และ/หรือนำสินค้าออกจากตู้สินค้าจะอยู่กับผู้ส่งและ/หรือผู้รับนั้นๆ  บางครั้งในวงการเรือเรียกตู้สินค้าขนิดนี้ว่าเป็นตู้
CY เพราะสามารถรับและ/หรือส่งตู้ชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องผ่านโกดัง
Bagged cargo  สินค้าบรรจุถุง
Deck cargo     สินค้าที่บรรทุกบนปากระวาง
ที่มา
www.patarapong-logistics.com/news_inside.php?news=28



Border Trade

Counter Trade การค้าต่างตอบแทน
    รูปแบบต่างๆ ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยผู้ขายมีข้อผูกผันว่าจะต้องซื้อสินค้าจาก ผู้ซื้อเป็นการตอบแทน เป็นวิธีการค้าที่คู่ค้าทั้งสองฝ่ายต่างมีโอกาสค่อนข้างทัดเทียมในการซื้อและขายสินค้าซึ่งกันละกัน ทั้งนี้ต่างจากการซื้อขายตามวีการปกติทั่วไป ซึ่งผู้ขายไม่ต้องมีข้อผูกพันว่าจะซื้อสินค้าจากผู้ซื้อเป็นการตอบแทน ในทางปฏิบัติการค้าต่างตอบแทนอาจดำเนินการในรูปแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้ (1) barter การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้าในปริมาณและคุณภาพตามที่คู้ค้าทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยไม่ต้องใช้เงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนการตกลงแลกเปลี่ยนแต่ละครั้งอาจเกี่ยวข้องกับสินค้าที่แลกเปลี่ยนตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป (2) compensation การซื้อขายสินค้าในมูลค่าที่เท่ากันภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการชำระค่าสินค้าทั้งหมดเป็นเงิน หรือชำระ
Consumer durables คงทนของผู้บริโภค
  ในเศรษฐศาสตร์มีความทนทานดีหรือยากดีเป็นดีที่ไม่ได้สวมใส่ได้อย่างรวดเร็ว ออกหรือมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้สาธารณูปโภคในช่วงเวลาแทน
 Re-expor
  เป็นสินค้าที่ต้องนำเข้ามาแล้วและไม่ได้ผ่านกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยน แปลงรูปร่างหรือลักษณะใดเพิ่มเติม หรือของที่นำเข้ามาเพื่อเป็นของใช้สิ้นเปลืองสำหรบยานพาหนะที่เดินทางไปต่าง ประเทศ เช่นน้ำมัน หรือภาชนะที่พ่วงมากับสินค้านำเข้าและต้องส่งกลับประเทศที่ส่งออกมา
 Import quota การจำกัดสินค้าเข้า
  โควต้า นำเข้าเป็นประเภทของการกีดกัน ทางการค้าข้อ จำกัดที่กำหนดขีด จำกัด ทางกายภาพเกี่ยวกับปริมาณของที่ดีที่สามารถนำเข้ามาในประเทศในช่วงเวลาที่ กำหนด[ 1 ]
Consumer goods สินค้าเพื่อการบริโภค
  สินค้าเพื่อบริโภค  คือ สินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อการอุปโภคบริโภคเองในครอบครัว  เพื่อตอบสนองความต้องการหรือสร้างความพึงพอใจแก่ตนเองหรือสามาชิกในครอบครัว 
 Embargo   การห้ามส่งสินค้า
  การห้ามไม่ให้ประเทศใดประเทศหนึ่งทำการติดต่อค้าขายโดยการส่งสินค้าไปขายหรือสั่งซื้อสินค้า  โดยถือว่าประเทศนั้นเป็นศัตรูของตน 
Drawback คือ   ข้อเสียเปรียบในกฎหมายในการค้า
 Black market  ตลาดมืด
  ตลาดสีเทาหรือตลาดสีเทายังเป็นที่รู้จักในตลาดขนาน
 Import licence  ใบอนุญาตนำเข้าสินค้า
  ใบอนุญาตนำเข้าเป็นเอกสารที่ออกโดยรัฐบาลแห่งชาติอนุญาตการนำเข้าสินค้า บางอย่างลงในอาณาเขตของตน
 Foreign market value (FMV) มูลค่าตลาดต่างประเทศ
Gray market goods  ตลาดสีเทา
  ตลาดสีเทาหรือตลาดสีเทายังเป็นที่รู้จักในตลาดขนาน
 Delivered at frontier
  คำ ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศเช่นการส่งมอบที่ชายแดนเค้าร่างที่ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการขนส่งของสินค้าที่อยู่ภายใต้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศ
 Agribusiness  ธุรกิจการเกษตร
  การดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนับตั้งแต่การผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิต การผลิตสินค้าเกษตรในระดับฟาร์ม การเก็บรักษา การแปรรูปสินค้าเกษตร และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและผลิตผลพลอยได้ ดังนั้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทุกประเภทถือว่าเป็นธุรกิจการเกษตรทั้งสิ้น
Foreign direct investment (FDI)  การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
  การลงทุนต่างประเทศหมายถึงเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากการลงทุนที่จะได้รับความ สนใจการจัดการที่ยั่งยืน (ร้อยละ 10 หรือมากกว่าของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง) ในการดำเนินงานขององค์กรในทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กว่าที่ของผู้ลงทุน
Primary commodity สินค้าหลัก
  ที่สามารถนำเสนอขายให้แก่ตลาดเพื่อให้เกิดความพอใจ ความต้องการเป็นของเจ้าของ  เรียกให้มีการซื้อ  การใช้  หรือการบริโภค  ซึ่งเป็นสิ่งที่ (อาจจะ) ตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของผู้ซื้อให้ได้รับความพอใจ

ที่มา
http://www.ismed.or.th/SME2/src/upload/.../11812887134669090994ecc.pdf


วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ศัพท์ที่ควรรู้

Financial Document  เอกสารทางการเงิน

1.  Bill of exchange  ตั๋วแลกเงิน 
   คือหนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน

2.  Draft ดราฟต์
   คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์

3.  Cheque เช็ค
   คือหนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า  ผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม  ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง

4. Bill of Collection การเรียกเก็บเงินตามตราสารเพื่อลูกค้า            การเรียกเก็บเงินตามตราสารเพื่อลูกค้าเป็นบริการที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็ค  ดราฟต์ ตั๋วแลกเงิน  และตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้แก่ลูกค้า เมื่อเรียกเก็บเงินได้ ธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีให้ลูกค้า ธนาคารให้บริการเรียกเก็บเงินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้า

5. Bonds  พันธบัตร เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร

6.  Stock  หุ้นทุน

Transport Document  เอกสารการขนส่ง

   เป็นเอกสารที่บริษัทผู้ทำการขนส่งสินค้า (Shipping Company) ออกให้แก่ผู้จัดส่ง (Shipper) ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานว่าตนได้รับมอบสินค้าไว้เพื่อทำการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่งตามที่กำหนด

2. Airway Bill ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ
    เป็นใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงเอกสาร เป็ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ? เป็นใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงเอกสารนใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงเอกเป็นใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ทรงเอกป็นใบรับและเป็นสัญญารับขนสินค้าของบริษัทการบิน ออกให้แก่ผู้ส่งออก (Exporter) ซึ่งต่างไปจาก B/L โดย Air Way Bill ไม่ใช่ตราสารแสดงสิทธิของผู้ส่งออก
3. Railway Bill ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ  
   เป็นใบรับออกโดยการรถไฟหรือตัวแทน (Agent) และมีลายเซ็นของผู้ทำการขนส่ง และตัวแทนลงนามประทับตราและวันที่ออก
4. Roadway Billใบตราส่งสินค้าทางถนน
5. Certificate of Posting
6.  CMR
7.  TIR

Commercial Document เอกสารพาณิชย์

1. invoiceใบกำกับสินค้า
   บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า ? เป็นเอกสารที่ผู้ส่งสินค้า (Exporter) จัดขึ้น เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น รายการจำนวนสินค้า, น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย ราคารวม ประเภทของราคา ที่จะทำการซื้อขายกัน เครื่องหมายหีบห่อ ชื่อเรือที่ทำการขนส่ง ชื่อผู้ซื้อ เป็นต้น แต่ละบริษัทผู้ขายสินค้า (Exporter) จะมี Form ในการออก Invoice ของตนเอง และส่งไปพร้อมกับสินค้า พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้ซื้อ (Importer) เป็นหลักฐานในการตรวจสอบสินค้า

2. packing listใบแสดงการบรรจุหีบห่อ
   เป็นรายการในการบรรจุหีบห่อ แสดงถึงการบรรจุของในแต่ละหีบห่อว่าได้บรรจุสินค้าแบบใด จำนวนเท่าใด

3. weight listใบแสดงรายการน้ำหนักสินค้า
4. certificate of origin
ใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า
   เป็นใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า ว่าสินค้านั้นๆ มีกำเนิดในประเทศใด ตามปกติแล้วจะนิยมให้สภาการค้า (Chamber of Commerce) ของประเทศผู้ส่งสินค้าเป็นผู้ออกให้ วัตถุประสงค์ในการใช้เอกสารนี้ ก็โดยเหตุที่บางประเทศเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีสนธิสัญญาในเรื่องภาษีต่อกันต่ำกว่าสินค้าจากประเทศอื่น หรือห้ามสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเข้าประเทศของตน

5. health certificateใบสำคัญแสดงความสมบูรณ์ของสินค้า
6. inspection certificateการตรวจสอบใบรับรอง
7. insurance certificateใบรับรองการประกัน
    หลักฐานที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้ประกันภัยในแต่ละครั้งที่มีการขนส่งสินค้า
8. phytosanitary certificateใบรับรองสุขอนามัยพืช
9. fumigation certificateใบรับรองรมควัน
10. certificate of analysis
ใบสำคัญแสดงการวิเคราะห์
    เป็นเอกสารแสดงการวิเคราะห์ว่าสินค้านั้นๆ มีส่วนผสมอะไรบ้าง และมีสัดส่วนอย่าไร ซึ่งผู้ซื้อ (Importer) จะได้ทราบว่า สินค้ามีส่วนผสมตามความตกลง
11. sanitary certificateใบรับรองสุขอนามัย
12.  Entreport Certificates
13.  Shipping Line Certificates การจัดส่งสินค้าใบรับรองสาย
14.  Measurement Certificates ใบรับรองการวัด
ที่มา
1. Bill of Lading ใบตราสารส่งสินค้า

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

Bill of Lading


เอกสารซึ่งใช้กับการขนส่งทางทะเล ที่ผู้ส่งออกควรทราบตามลำดับดังนี้
 1.BILL OF EXCHANGE (ตั๋วและ เงินหรือดราฟท์)เป็นตราสารที่ผู้รับประโยชน์ (ผู้ส่งออก) เป็นผู้ส่งขายตั๋วแลกเงินคือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ชนิดหนึ่ง มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรโดยปราศจากเงื่อนไข ออกโดยบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย (DRAWEE) จ่ายเงินให้บุคคลที่สามเมื่อครบกำหนดเวลาเป็น จำนวนเงินที่แน่นอน หรือจ่ายตามคำสั่งของบุคคลที่สามนั้น

 2.EXPORT LICENCE (ใบอนุญาตส่ง ออก)ตาม ปกติแล้วสินค้าที่ต้องขอใบอนุญาตส่งออกมักจะเป็นสินค้าจำพวกวัตถุดิบเครื่อง จักรหรืออุปกรณ์ที่มีการขาดแคลน สินค้าที่ใช้ทางการทหาร หรือในบางครั้งการกำหนดให้มีการขอใบอนุญาตส่งออกถ้าเป็นผลมาจากนโยบายการ เมืองระหว่างประเทศ เช่น การลงโทษทางเศรษฐกิจต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นต้น

 3.CERTIFICATE OF ORIGIN (C/O) (ใบรับรองแหล่งกำเนิด สินค้า) วัตถุประสงค์หลักของเอกสารนี้คือ การเรียกร้องสิทธิพิเศษทางภาษีสินค้าในประเทศที่นำเข้าหมายถึงการส่งออก สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ไปยังประเทศที่ให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรหรือเรียกว่า จี.เอส.พี (GSP) นั้น เอกสารนี้ จะเป็นเครื่องแสดงถึงแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศผู้ส่งออกเพื่อให้ประเทศนำ เข้ายอมรับและให้สิทธิพิเศษดังกล่าวนอกจากนี้ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้านี้ จะใช้สำหรับการพิสูจน์ด้วยว่าสินค้านั้นไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์การนำเข้าของประเทศ นั้น ๆ ด้วย

ฉะนั้นการออกใบรับรองแหล่งกำเนิด สินค้า หรือ c/o จะสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
    3.1 การรับรองเพื่อใช้สิทธิพิเศษทางศุลกากร จะต้องรับรองโดยส่วนราชการผู้รับผิดชอบในเอกสารนี้ คือ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
    3.2 การรับรองเพื่อการค้าขายทั่วไปหรือเมื่อลูกค้าต้องการ สามารถออกใบรับรองได้โดยสภาหอการค้าเพื่อรับรองต้นกำเนิดของสินค้านั้น

 4.CERTIFICATE OF VALUE (ใบรับรองมูลค่าสินค้า)บางครั้งมูลค่าสินค้า ที่แสดงในใบกำกับสินค้า (INVOICE) อาจต้องได้รับการยืนยันโดยใบรับรองมูลค่าสินค้า ซึ่งต้องมีลายเซ็นของผู้ส่งออกกำกับอยู่ด้วย โดยระบุความจริงทางราคาอย่างชัดเจน หรือไม่ทำให้เข้าใจเป็นอย่างอื่น ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้เลยในเรื่องราคาซื้อซึ่งการระบุเช่นนี้จะปรากฎใน Consular Invoice เช่นเดียวกัน

 5.CERTIFICATE OF WEIGHT (ใบรับรองน้ำหนักของ สินค้า)เป็นเอกสารแสดงน้ำหนักของสินค้าทั้งจำนวน อาจจะออกโดยบริษัทหรือ สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานสินค้าหรือส่วนราชการ ใบรับรองนี้อาจระบุโดยผู้ส่งออกได้ เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตจะระบุเป็นอย่างอื่น ใบรับรองแสดงน้ำหนักของสินค้า ต้องรับรองน้ำหนักของสินค้าตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าและจะต้องไม่ขัดกับ เอกสารอื่น ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตระบุไว้

 6.CERTIFICATE OF INSPECTION ( ใบรับรองการตรวจสอบ ) ผู้ซื้อบางรายต้องการใบรับรองการตรวจสอบ เพื่อแน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นเป็นไปตามมาตราฐานผู้ส่งออกต้องจัดการ เรื่องเหล่นี้ให้ลูกค้าของตนเอง

 7. CERTIFICATE OF HEALTH (หนังสือรับรอง คุณภาพและอนามัย) การส่งออกสินค้าประเภทอาหารและผลิตผลทางการเกษตร ประเทศผู้ซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดที่เข้มงวดเกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อน ทั้งทางเคมีและทางจุลชีวะตลอดจนซากสัตว์สิ่งสกปรกและสารพิษต่าง ๆ ทั้งนี้จะมีการตรวจวิเคราะห์อยู่เป็นประจำ สินค้าซึ่งมีการปริมาณสิ่งเจือปนดังกล่าวสูงกว่ากำหนดอาจถูกกันหรือห้ามเข้า ดังนั้น การส่งออกสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์ทางเกษตรจึงต้องมีหนังสือคุณภาพและอนามัย แสดงให้ทราบถึงความปลอดภัยในการบริโภคไปด้วย จึงจะอนุญาตให้นำเข้า

 8.OCEAN BILL OF LADING ( B/L ) ( ใบตราส่งสินค้าทางทะเล )เป็นเอกสารสำคัญที่สุด เมื่อมีการส่งสินค้าทางทะเล Bill of Lading เป็นใบรับรอง มอบสินค้าของบริษัทเรือที่ทำการส่งออก ใบตราส่งสินค้าทางทะเล เป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้า และเป็นหลักฐานสัญญาของบริษัทเรือที่จะขนส่งสินค้าทางเรือ ของประเทศส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง ใบตราส่งสินค้ามีหลายชนิดดังนี้ คือ

       CLEAN B/L คือใบตราส่งสินค้าที่บริษัทเรือไม่ได้บันทึกแจ้งข้อ บกพร่องของสินสินค้า / หรือ การบรรจุหีบห่อ NON-NEGOTIABLE OR STRAIGHT B/L เป็นใบตราส่งสินค้าที่ยินยอมให้มีการส่งมอบ ให้แก้ผู้รับสินค้า ( CONSIGNER )ที่ระบุไว้เท่า นั้น จะโอนให้ผู้อื่นมารับไม่ได้

       ORDER B/L ใบตราส่งสินค้าที่ออก โดยมีการส่งมอบสินค้าตามคำสั่ง ( ORDER ) ปกติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าหรืออาจเป็น ลอย ๆ ซึ่งต้องมีการสลักหลังโดยผู้ส่งสินค้าเพื่อเป็นการโอนสิทธิ์ในสินค้าให้กับ ผู้ทรง ( HOLDER ) หรือผู้ที่ได้รับการโอนสิทธิ์ให้ โดยเจาะจงการสลักหลังใบตราส่งสินค้ามาถึงแล้วเท่านั้น

     ORDER ? NOTIFY? B/L เหมือนกับใบตราส่งสินค้าชนิด ? ORDER? เพียงแต่เพิ่มข้อความในใบตราส่งสินค้า ว่าเมื่อสินค้าถึงเมืองท่าปลายทางแล้ว ตัวแทนบริษัทเรือที่มีเมืองท่าปลายทาง จะแจ้งให้กับผู้รับสินค้าทราบการแจ้งนี้ไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ในสินค้านั้นให้กับผู้รับแจ้ง เพียงเป็นเรื่องแจ้งให้ทราบว่าสินค้ามาถึงแล้วเท่านั้น เป็นตราสารแสดงสิทธิ์ของผู้ทรงและเปลี่ยนมือได้ (NEGOTIABLE INSTRUMANT) คือเป็นเอกสารแสดงสิทธิในสินค้าและโอนสิทธิต่อ ๆ กันได้ BILL OF LADING นี้ยังแบ่งออกเป็น

    ? THROUGH? BILL OF LANDING เป็นใบตราส่งออกในกรณีที่การขน ส่งทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งระบุการขนส่งไว้ตลอดทาง ปกติผู้รับขนส่งคนแรกจะเป็นผู้ออกใบตราส่งชนิดนี้

     ?RECEIVED FOR SHIPMENT? BILL OF LANDING เป็นใบตราส่งสินค้าชนิดที่ มีลักษณะเป็นเพียงสัญญาแสดงว่าได้รับการสินค้าไว้เพื่อจะทำการขนส่ง แต่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าสินค้าได้ขึ้นเรือลำที่ระบุไว้เป็นการเรียบร้อย แล้ว

     ?SHIPPED ON BOARD ? BILL OF LADING เป็นใบตราส่งซึ่งแสนดงว่า สินค้าได้ขึ้นเรือระวางเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ?CHARTER PARTY ? BILL OF LADING เป็นใบตราส่งที่ผู้รับขนได้เช่าเรือของผู้ อื่นมารับทำการขนส่งสินค้าซึ่งระบุเงื่อนไขให้สัญญาขนส่งติดแยกจากใบตราส่ง ชนิดอื่น

 9. THE COMMERCIAL INVOICE ( ใบกำกับสินค้าหรือ บัญชีราคาสินค้า ) มีสาระสำคัญในใบกำกับสินค้า ควรตรวจสอบให้ถูกต้อง มีที่น่าสนใจอีกคือ - สินค้าในใบกำกับสินค้า จะต้องไม่แสดงว่าเป็น ?สินค้าที่ใช้ แล้ว? ( USED ) ? สินค้าที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ ? ( REBUILT ) หรือ ? สินค้าที่ เปลี่ยนมือ ? ( SECONDHAND)เว้นแต่เลตเตอร์ออ ฟเครดิตจะอนุญาตไว้โดยเฉพาะ

        -ใบกำกับสินค้าจะต้องมีการประทับตรารับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสถานฑูต หรือ กงสุลที่เกี่ยวกับ ถ้าเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุไว้

        -เครื่องหมายและตัวเลขบนหีบห่อ ( SHIPPED MARKS & NUMBERS ) ในใบกำกับสินค้าจะเหมือนกับใบตราส่ง ( BILL OF LADING ) และ / หรือ เหมือนกับเอกสารการส่งสินค้าอื่น ๆ และ / หรือ เหมือนกับเครื่องหมายหีบห่อ และตัวเลขที่กำหนดไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิต

        - ใบกำกับสินค้า จะต้องไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ เช่น ค่านายหน้า (COMMISSION ) ค่าเก็บรักษาสินค่า ( STORE CHARGES ) ค่าโทรเลข (CABLE CHARGES ) ค่าธรรมเนียม ในการส่งสินค้าล่าช้ากว่าที่กำหนด ( DEMURRAGE ) เป็นต้น เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตที่จะกำหนด

         -ถ้ายังไม่มีการยื่นใบกำกับสินค้าชนิดชั่วคราว ( PROVISIONAL INVOICE ) ธนาคารจะไม่รับใบกำกับสินค้าชนิด ชั่วคราว ยกเว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตที่กำหนดไว้

         -ถ้าเลตเตอร์ออฟเครดิตอนุญาตให้มีการส่งสินค้าเป็นบางส่วน ( PARTIAL SHIPMENTS ) มูลค่าของสินค้าในกำกับสินค้าจะต้อง ได้สัดส่วนกับจำนวนสินค้าที่แบ่งส่งนั้น

 10. CUSTOMS INVOICE ( ใบกำกับ สินค้าของศุลกากร ) ในทางประเทศจะกำหนดให้ใช้ใน CUSTOMS INVOICE โดย เฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ และ ประเทศในอัฟริกาบางประเทศลักษณะของใบ CUSTOMER INVOICE คือ ใบกำกับสินค้า ( OFFCIAL INVOICE ) ที่ จะต้องเตรียมเป็นฟอร์มพิเศษ ออกโดยผู้มีอำนาจทางศุลกากรระบุราคาสินค้าทางศุลกากรเพื่อสะดวกในการคำนวณ ภาษีปกติรายการสินค้า แต่ละชนิดจะแยกราคาสินค้าระหว่างเรือและค่าเบี้ยประกันออกจากกัน

 11. CONSULAR INVOICE (ใบกำกับสินค้าของกงสุล ) กฎเกณฑ์การนำเข้าของบางประเทศ กำหนดไว้จะต้องมีใบกำกับสินค้า ซึ่งรับรองโดยสถานฑูตของคนที่ตั้งอยู่ในประเทศของผู้ขาย เพื่อรับรองราคา ดังนั้น จึงขอให้สถานฑูตกงสุลเป็นผู้ออกใบกำกับราคา ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียม ให้สถานกงสุลตามระเบียบนั้น สาระสำคัญที่ควรเป็นข้อสังเกตในแบบฟอร์มนี้ ได้แก่

       1. แบบฟอร์มใบกำกับราคาสินค้าสที่ออกดดยสถานกงสุลต้องได้รับการ ประทับตราทางราชการ และลงนาม โดยสถานกงสุลของประเทศที่นำเข้า เว้นแต่เลตเตอร์ออฟเครดิตจะอนุญาตให้ใบกำกับราคาสินค้านั้น ๆ ออกโดยสถานกงสุลของประเทศพันธมิตรอื่น ๆ
       2. จะ ต้องกรอกข้อความที่ต้องการลงในช่องว่างที่กำหนดให้สมบูรณ์ ในบางประเทศ จะคิดค่าปรับสำหรับการละเว้นการเติมข้อความในแบบฟอร์มนั้นด้วย
       3. ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความใน CONSULAR FORMS ถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจะต้องมีหนังสือของสถาน กงสุลนั้นกำกับ หากไม่มีหนังสือกำกับ บางประเทศอาจคิดว่าปรับได้

 12. F.T. 1 ( Foreign Transaction )แบบธุรกิจต่าง ประเทศ ธ.ต. 1 ธ.ต. 1 คือ แบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม พรบ. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 เป็นรายงานการส่งออก ใช้สำหรับการส่งออกที่มีมูลค่าครั้งละเกินกว่า 500,000 บาท )ซึ่งผู้ส่งออกเป็นผู้ยื่นประกอบใบขน สินค้าขาออกโดยจัดทำ 2 ฉบับ คือ 1.) ต้นฉบับ 2.) สำเนา แบบพิมพ์ ธ.ต. 1 นี้ขอรับได้จากกรมศุลกากร และไม่ต้องมีการรับรองจากธนาคารพาณิชย์

 13. CERTIFICATE OF FUMIGATION (ใบรับรองการรมยา)สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อเป็นการทายศัตรูพืชทุกชนิดนอกจากนั้น เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี

 14.CUSTOMS ENTRY FORM (ใบขนสินค้าที่ใช้ทาง ศุลกากรของแต่ละประเทศ) ซึ่งจะมีใช้ทั้งการนำสินค้าเข้าและการส่งสินค้าออก โดยแต่ละประเทศจะกำหนดขึ้นใช้ตามความหมาะสม เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบพิธีการ ชำระภาษีอากร และการตรวจปล่อยสินค้า จากการอารักขาของศุลกากร ปัจจุบันใบขนส่งสินค้าของกรมศุลกากรของไทยได้ใช้แบบอย่างตามเอกสารกระทัดรัด และสะดวกต่อการเก็บรักษาอีกด้วย

 15.PHYTOSANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด)เพื่อเป็นการป้องกันการ แพร่ระบาดของโรคพืชต่าง ๆ เอกสารชนิดนี้ออกโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับการรับรองจากนานชาติ สำหรับกรรมวิธีการปฏิบัตินั้นอาจใช้บริการ ศึกษาได้จากหัวข้อ การส่งออก สินค้าเกษตร

 16.CERTIFICATE OF ANALYSIS (ใบวิเคราะห์สินค้า)เป็นเอกสารแสดงการตรวจ สอบสินค้าทางวิทยาศาสตร์ ให้ทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสินค้าและให้การรับรองเป็นเอกสาร ถ้าเป็นอาหารที่บริโภคได้ก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษ ตามหลักเกณฑ์สากล หรือมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด ถ้าเป็นเคมีภัณฑ์ก็แยกออกมาให้ทราบถึงส่วนผสมที่มีอยู่ เพื่อสะดวกแก่การนำสินค้าดังกล่าวเข้าประเทศ

 17.CERTIFICATE OF VACINATION (ใบรับรองการฉีด วัคซีน)ซึ่งใช้กับสิ่งมีชีวิตที่เป็นสินค้าทุกชนิด เพราะสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจเป็นพาหะนำโรคไปเผยแพร่ทุกประเทศจึงมีการเข้ม งวดกวดขันป้องกัน การจะนำพาหรือส่งออกเป็นสินค้าจำเป็นต้องมีหนังสือรับรองการปลอดโรค ผู้ซื้อจึงจะสามารถนำเข้าประเทศได้

 18.INSURANCE CERTIFICATE (ใบรับรองการประกันภัย)การประกันภัยเป็นส่วน สำคัญของการค้าระหว่างประเทศ คือสินค้าได้รับการคุ้มครองความเสียหายจากภัยที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง หลักฐานเอกสารที่สำคัญก็คือ สัญญาประกันภัย ที่เรียกว่า กรมธรรม์ เป็นสัญญาที่ผู้รับประกันตกลงยินยอมประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ผู้รับประกันตามอัตราที่ตกลงกัน

 19.PACKING LIST (ใบรายการบรรจุหีบห่อ)เป็นเอกสารที่สำคัญ อย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้ทราบถึงการบรรจุสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขน ส่งระหว่างประเทศ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าปกติเจ้า หน้าที่ศุลกากรจะใช้วิธีการสุ่มตรวจตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่ทำการตรวจสินค้าทั้งหมดด้วยการเปิดหีบห่อ ซึ่งอาจทำให้บรรจุภัณฑ์และสินค้าเกิดการเสียหายหรือสูญหายได้ ดังนั้น ใบรายการบรรจุหีบห่อควรรายละเอียดให้เพียงพอ

 20.SANITARY CERTIFICATE (ใบรับรองการตรวจสอบอาหาร ที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง)ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อน ที่จะเป็นอัตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนด ด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยว ข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น

ที่มา : http://www.freightforu.com/webboard.php?iMMode=preview&iQID=9&iGID=5